การศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

  • Period: to

    จัดตั้งกรมศึกษาธิการ

    มีเจ้าหน้าที่จัดการศึกษาของปรเทศ
  • Period: to

    ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2433

    สมัยรัชกาลที่ 5
    แบ่งชั้นเรียนเป็น 3 ประโยค เป็นระบบ 3-3-4 รวม 10 ปี
  • Period: to

    จัดตั้งกระทรวงธรรมการ

    กรมการศึกษาธิการ ยกฐานะเป็นกระทรวงธรรมการ
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรฉบับที่ 1 พ.ศ.2438

    • หลักสูตรฉบับแรกของประเทศไทย ใช้นาน 10 ปี
    • กำหนดให้มีการเรียนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
    • “วิทยาศาสตร์” ยังไม่ถูกนำมาใช้
    • การจัดการเรียนการสอนเริ่มให้มีขึ้นในชั้นมัธยมศึกษาเป็นครั้งแรก
  • Period: to

    ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2445

    ได้รับอิทธิพลจากแผนการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรสามัญศึกษา ชั้นประถมและมัธยม ร.ศ.124 (พ.ศ.2448)

    • เปลี่ยนชื่อวิชา “ศาสตร์” เป็นวิชา “ความรู้เบ็ดเตล็ด” ในประโยคประถมศึกษา
    • เปลี่ยนชื่อวิชา “ศาสตร์” เป็นวิชา “วิทยา” ในประโยคมัธยมศึกษา
    • กำหนดให้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

    • เป็นวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับโรงเรียนประถม
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรสามัญศึกษา ร.ศ.130 (พ.ศ.2454)

    • มีการศึกษาภาคบังคับ กำหนดให้เรียนวิชา วิทยา
    • ระดับมูลศึกษา (ชั้นปีที่ 1-3) เป็นวิชาเลือก
    • ระดับประถมศึกษา (ชั้นปีที่ 4-6) เป็นวิชาบังคับ
    • ระดับมัธยมศึกษา (ชั้นปีที่ 7-10) เป็นวิชาบังคับเน้นเนื้อหามากขึ้น
    • ระดับมัธยมสูง (ชั้นปีที่ 10–12)
  • Period: to

    หลักสูตรหลวง กระทรวงธรรมการ หลักสูตรสามัญ พ.ศ.2456

    • ระดับมูลศึกษา เปลี่ยนเป็นชั้นประถมศึกษา กำหนดให้เรียนวิชา วิทยา
    • ระดับประถมศึกษา เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กำหนดให้เรียนวิชา วิทยา
    • ระดับมัธยมศึกษา เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนกลาง
    • ระดับมัธยมสูง เปลี่ยนเป็นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชาย)
    • เพิ่มเนื้อหาในการสอนเคมี ให้รู้จักแยกธาตุ กรด เบส วิธีสอนคงเดิม
  • Period: to

    ประกาศใช้ประมวลศึกษาภาค 2 หลักสูตรสามัญศึกษา พ.ศ.2464

    • รัชกาลที่ 6 ทรงตรา พรบ. โรงเรียนราษฎร์ขึ้น มุ่งให้ประชาชนมีความรู้ด้านการประกอบอาชีพ
    • ตราพรบ. ประถมศึกษาเป็นเขต ๆ เป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กอายุ 7 - 14 ปี
    • แนะนำให้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    • เปลี่ยนชื่อวิชา“วิทยา” เป็นวิชา “วิทยาศาสตร์”
    • มัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิทยาศาสตร์
    • มัธยมศึกษาตอนปลาย หญิงเรียนสรีระศาสตร์ สุขศึกษา ฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ชายเรียน กลศาสตร์และไฮโดรสเตติกส์และนูแมติกส์ เสียง แสงสว่าง และความร้อน แม่เหล็กและไฟฟ้า เคมีภาคทฤษฎี เคมีภาคปฏิบัติ พฤกษศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2471

    • แยกชั้นมัธยมตอนปลายเป็นแผนกกลาง แผนกภาษา และแผนกวิทยาศาสตร์
    • แผนกวิทยาศาสตร์ เรียน 7 ชม./สัปดาห์ ให้ความรู้เน้นทางวิทยาศาสตร์ 7 แขนง : แขนงแม่เหล็ก แขนงไฟฟ้า แขนงเคมี แขนงกลศาสตร์ ความร้อน แสง และเสียง แขนงชีววิทยา แขนงพฤกษศาสตร์ และแขนงโลหะศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศใช้ประมวลศึกษาภาค 2 หลักสูตรชั้นประถมศึกษา พ.ศ.2480

    • ประเทศต้องการนักวิทยาศาสตร์
    • กระทรวงฯ สร้างเครื่องมือทดลองที่สามารถใช้ได้หลาย ๆ ชั้น
    • ชั้นประถมศึกษาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
    • ให้รู้จักวัตถุ การงาน พืช และสัตว์ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับมนุษย์
  • Period: to

    ประกาศใช้ประมวลศึกษาภาค 2 หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาต้นและปลาย พ.ศ.2480

    • มีการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะในการสอนวิทยาศาสตร์และวิธีสอนสำหรับระดับมัธยมศึกษา
    • มัธยมศึกษาต้น เรียนการวัดสิ่งต่าง ๆ เรื่องความร้อน ไฟฟ้า แสงสว่างเครื่องยนต์ เครื่องบิน น้ำ สถานะของน้ำ ฝน ลูกเห็บ หิมะ น้ำค้าง ลม อากาศ และดาราศาสตร์
    • มัธยมศึกษาปลาย เรียนวิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ทั่วไป เรื่องเกี่ยวกับสสาร
  • Period: to

    ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2479

    • แบ่งการศึกษาเป็นสายสามัญศึกษา และสายอาชีวศึกษา
    • การศึกษาภาคบังคับกำหนดให้เรียนจบประโยคประถมศึกษา 4
  • Period: to

    วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับ

    ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • Period: to

    ก่อตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

    ร่วมกับความช่วยเหลือขององค์การต่างประเทศซึ่งทำให้การศึกษาวิทยาสษสตร์เจริญก้าวหน้าอย่างมาก
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2491

    • ระดับประถมศึกษาเปลี่ยนชื่อ “วิชาวิทยาการ” เป็น “วิชาธรรมชาติศึกษา” เป็นวิชาบังคับ
    • ประถมศึกษา 1 - 2 เรียนธรรมชาติศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
    • ประถมศึกษา 3 - 4 เรียนธรรมชาติศึกษา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
    • เรียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2493 ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2493

    • กำหนดวัตถุประสงค์การสอนวิทยาศาสตร์ เหมือนกันทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย
    • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเปลี่ยนชื่อ “วิชาวิทยาศาสตร์” เป็น “วิชาวิทยาศาสตร์เบื้อต้น”
    • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปลี่ยนชื่อ “วิชาวิทยาศาสตร์” เป็น “วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป”
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2498

    • มีความมุ่งหมายให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องใกล้ตัว เกี่ยวกับธรรมชาติศึกษา มุ่งให้นักเรียนนำเอาความรู้ประยุกต์ใช้สำหรับตนเองและชุมชนให้ดีขึ้น
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2503 และ ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2503

    • วิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ทั่วไป
    • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 แผนก
    • แผนกวิทยาศาสตร์ เรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา
    • แผนกศิลปะ เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
    • แผนกอักษรศาสตร์ เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรประโยคประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2503

    • ระดับประถมศึกษาเปลี่ยน “ธรรมชาติศึกษา” เป็น “วิทยาศาสตร์เบื้อต้น” ให้ความสำคัญของวิทยาศาสตร์มากขึ้น ครูต้องสอนทั้งเนื้อหา ความรู้ และวิธีแสวงหาความรู้ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
    • วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงเตรียมอุดมศึกษา
    • ประถมศึกษาตอนต้น : พืชและสัตว์ที่มีในท้องถิ่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ลม ฟ้า อากาศ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ แรงธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลง
    • ประถมศึกษาตอนปลาย : การชั่งตวงวัด สิ่งมีชีวิต สสารและพลังงาน แรงธรรมชาติ แทรกการสงวนทรัพยากรธรรมชาติ
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรหลักสูตรโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม (พ.ศ.2510)

    • เป็นหลักสุตรใช้ในโรงเรียนสามัญศึกษา และโรงเรียนอาชีวศึกษา
    • มีการจัดเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ใหม่ กำหนดเป็นวิชาบังคับและวิชาเลือก
    • กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบเรื่องกำหนดหลักสูตร วิธีสอนและการวัดและประเมินผล
    • สมาคมวิทยาสาสตร์แห่งประเทศไทย องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมปรับปรุงการสอนวิทยาศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2518

    • มีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์
    • กำหนดให้ผู้เรียนเน้นหนักทางวิทยาศาสตร์ เลือกเรียนวิชาเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา
    1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีขั้นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
    2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะและขอบเขต และวงจำกัดของวิชาวิทยาศาสตร์
    3. เพื่อให้เกิดทัศนคติทางวิทยาศาสตร์
    4. เพื่อให้เกิดทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
    5. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงอิทธิพลของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อม
  • Period: to

    ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520

    • มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
    • กำหนดให้เปลี่ยนระบบชั้นเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2521 จากระบบ 4-3-3-2 เป็น 6-3-3
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521

    • ชั้นประถมศึกษากำหนดให้วิทยาศาสตร์อยู่ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
  • Period: to

    ประกาศหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521

    • มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์หลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลายพ.ศ.2518
    • ให้วิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับ ระดับชั้นมัธยมศึกษา 1-3 เรียนวิชาวิทยาศาสตร์
    • ดัดแปลงเนื้อหาวิชาในแบบเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้น เน้นวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม
  • Period: to

    กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524

    • มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวิชาเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยาเล็กน้อยเพื่อให้เนื้อหาเหมาะสม ทันสมัย
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)

    • ปรับปรุงจุดประสงค์ทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)

    • เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    • เนื้อหาวิทยาศาสตร์แบ่งเป็นวิชาบังคับแกนและวิชาเลือกเสรี
    • วิชาบังคับแกน บูรณาการเนื้อหาของวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
    • วิชาเลือกเสรีเป็นวิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา ของเล่นเชิงวิทยาสาสตร์
  • Period: to

    หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)

    แผนกศิลป์ เรียนวิชารวิทยาศาสตร์กายภาพ
    แผนกวิทยาศาสตร์ เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อม
    การเรียนการสอนเน้นการบรรยายตามหนังสือเรียน มีการสาธิตการทดลองบ้าง
  • Period: to

    พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2541

    มีวัตถุประสงค์
    1 ส่งเสริมประสานและให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย พัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ การประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์ โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก
    2 ส่งเสริมประสานและให้มีการพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการเรียนการสอนและค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
    3 ส่งเสริมประสานและให้มีการค้นคว้าวิจัย ปรับปรุงและทำสื่อการเรียนทุกประเภท ประดิษฐ์อุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์

    4 ส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการประเมินมาตรฐานการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
    5 พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

    มาตรา 23 การจัดการศึกษา (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544

    • เป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีโครงสร้างหลักสูตรยืดหยุ่น กําหนดจุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวม 12 ปี ช่วงชั้นละ 3 ปี
    • แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    • กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 8 สาระ ได้แก่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดํารงชีวิต 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3 สารและสมบัติของสาร 4 แรงและการเคลื่อนที่ 5 พลังงาน 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • Period: to

    ประกาศ พรบ.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548

    • กำหนดให้สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมุ่งส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและวิจัยหลักสูตร วิธีสอน และ การประเมินผลการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก
    • การพัฒนาและส่งเสริมบุคลากร การฝึกอบรมครู และการพัฒนาและส่งเสริมบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • การส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

    • กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
    • ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป ให้ใช่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทุกชั้นเรียน
    • มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ
    1. ความสามารถในการสื่อสาร
    2. ความสามารถในการคิด
    3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
    4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
    5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  • Period: to

    ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)

    • มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ สาระที่ 4 เทคโนโลยี