1387685988 thaicom640 o

ดาวเทียมไทยคม

  • ดาวเทียมไทยคม 1A

    ดาวเทียมไทยคม 1A
    ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536ในพิกัดตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก และย้ายไปที่ 120 องศาตะวันออกเมื่อ พฤษภาคม 2540
  • ดาวเทียมไทยคม 2

    ดาวเทียมไทยคม 2
    ดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก แทนพิกัดเดิมของ ดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน
  • ดาวเทียมไทยคม 3

    ดาวเทียมไทยคม 3
    ดาวเทียมไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน (3-Axis) ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์
    ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เมื่อ 16 เมษายน 2540
  • ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)

    ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)
    ไทยคม 4 (THAICOM 4) หรือ ไอพีสตาร์-วัน (IPStar-1) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 4 ดาวเทียมไทยคม 4 เคยเป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่และมีน้ำหนักมากที่สุดในโลก ณ วันที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร ไอพีสตาร์มีช่องการสื่อสารแบบ KU-Band จำนวน 87 ช่อง และ KA-Band จำนวน 10 ช่อง น้ำหนัก 6,505 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ด้วยจรวดแอเรียน 5 จากดินแดนเฟรนช์เกียนาในทวีปอเมริกาใต้
  • ดาวเทียมไทยคม 5

    ดาวเทียมไทยคม 5
    ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3
  • ดาวเทียมไทยคม 6

    ดาวเทียมไทยคม 6
    ไทยคม6 เป็นดาวเทียม สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation แต่ขนส่งโดยบริษัท SpaceX เนื่องจากดาวเทียมดวงนี้มีน้ำหนักถึง 3,000 กิโลกรัม จรวจของ Orbital Sciences Corporation ไม่สามารถขนส่งได้ ชื่อของจรวจของ SpaceX ที่ส่งดาวเทียม "ไทยคม 6" คือ "Falcon 9" มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
  • ดาวเทียมไทยคม 7

    ดาวเทียมไทยคม 7
    ดาวเทียมไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน รุ่น FS1300 ผลิตโดย บริษัท สเปซ สิสเต็มส์/ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา มวลในวงโคจร ประมาณ 3,700 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี วันที่ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร7 กันยายน พ.ศ. 2557
  • ดาวเทียมไทยคม 8

    ดาวเทียมไทยคม 8
    เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม